ยอดอุบัติเหตุสะสมทั่วประเทศ ช่วงสงกรานต์ 5 วัน ตาย 251 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 2000+ กว่าราย
วันนี้เราจะมารายงานแจ้งยอดอุบัติเหตุสะสมทั่วประเทศ โดยจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดคือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 5 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุดคือ จังหวัดนครศรีธรรมราช 33 ราย รวมสถิติอุบัติเหตตุทางถนนระหว่างวันที่ 9 -13 เมษายน มีอุบัติเหตุรวม 2,406 ครั้ง บาดเจ็บ 2,532 คน เสียชีวิต 251 คน จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด คือจังหวัดนครศรีธรรมราช 94 ครั้ง จังหวัดที่เสียชีวิตสะสมสูงสุด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด 11 ราย ส่วนจังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุดคือจังหวัดนครศรีธรรมราช 98 ราย ส่วนจังหวัดที่ยังไม่มีผู้เสียชีวิต 10 จังหวัด คือ จังหวัดตรัง จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดพิจิต จังหวัดภูเก็ต จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดยะลา จังหวัดเลย จังหวัดราชบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรปราการ ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 44.26% ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 24.44 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.83% โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 29.46% ขอให้ทุกท่านจงระมัดระวังในการใช้รถใช้ถนนช่วงสงกรานต์ด้วยนะครับ ด้วยความห่วงใยจาก ไทยสาระโพสต์
เตือนภัยร้ายใกล้ตัวจากการเล่น SmartPhone จนเกินพอดี
ในยุคนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ Smart Phone คู่ใจ ซึ่งไม่ว่าจะไปไหนทำอะไรก็ต้องพกมือถือไปด้วยไม่ว่าจะเล่นเกมส์ทำงาน หรือแม้กระทั่งเข้าห้องน้ำ กินข้าวก็ต้องเล่น Smart Phone อยู่ตลอดเวลาซึ่ง สิ่งนี้แหละที่จะทำอันตรายตัวสุขภาพของคนเรา โดยมีผลกระทบโดยตรวก็เป็นที่ดวงตาของเรานั้นเอง เป็นผลมาจากแสงสีฟ้า
แสงสีฟ้า คืออะไร? แสงที่ผสมอยู่กับแสงสีขาวที่ดวงตาของเรามองเห็น แสงสีฟ้าเป็น แสงพลังงานสูง โดยแสงสีฟ้านั้นมีอยู่รอบตัวเรา ทั้งจากแสงแดด หลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ แต่ที่พบมากที่สุดคือ หน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ที่เราใช้กันอย่างมากอยู่ทุกวันนั้นเอง
แสงสีฟ้ามีอันตรายอย่างไรแน่? จากงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า แสงสีฟ้า (Blue Light) นั้นมีพลังงานมากพอที่จะทำให้เกิดสารอนุมูล อิสระภายในลูกตาซึ่งจะทำให้เซลล์ประสาทตาตายได้ และก่อให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และที่ สำคัญโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้อีกด้วยนะครับ
ทำอย่างไรให้ห่างไกลแสงสีฟ้า รู้ถึงอันตรายขนาดนี้แล้วเราควรปรับเปลี่ยนการใช้งานสมาร์ทโฟนให้ถูกวิธี อย่าลืมดูแลรักษาดวงตาด้วยการพักสายตาทุก 15-60 นาที และการติดฟิล์มกันรอยที่มีคุณภาพดีเพื่อช่วยกรองแสงสีฟ้าจากหน้าจอได้ดีพอสมควร ช่วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยบำรุงสายตา เราจะได้มีดวงตาที่สดใสแข็งแรงอยู่เสมอนะครับ รู้ถึงอันตรายของแสงสีฟ้าแล้วอย่าลืมดูแลตัวเองให้ปลอดภัยและห่างไกลจากแสงสีฟ้ากันนะครับ เพื่อสุขภาพของตัวคุณเอง
แสงสีฟ้ามีอันตรายอย่างไรแน่? จากงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า แสงสีฟ้า (Blue Light) นั้นมีพลังงานมากพอที่จะทำให้เกิดสารอนุมูล อิสระภายในลูกตาซึ่งจะทำให้เซลล์ประสาทตาตายได้ และก่อให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และที่ สำคัญโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้อีกด้วยนะครับ
ทำอย่างไรให้ห่างไกลแสงสีฟ้า รู้ถึงอันตรายขนาดนี้แล้วเราควรปรับเปลี่ยนการใช้งานสมาร์ทโฟนให้ถูกวิธี อย่าลืมดูแลรักษาดวงตาด้วยการพักสายตาทุก 15-60 นาที และการติดฟิล์มกันรอยที่มีคุณภาพดีเพื่อช่วยกรองแสงสีฟ้าจากหน้าจอได้ดีพอสมควร ช่วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยบำรุงสายตา เราจะได้มีดวงตาที่สดใสแข็งแรงอยู่เสมอนะครับ รู้ถึงอันตรายของแสงสีฟ้าแล้วอย่าลืมดูแลตัวเองให้ปลอดภัยและห่างไกลจากแสงสีฟ้ากันนะครับ เพื่อสุขภาพของตัวคุณเอง
พบผลตรวจแล้วหญิงชาวเยอรมัน ไม่ใช่ไข้กาฬหลังแอ่น
จากกรณีที่พบหญิงชาวเยอรมัน ป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้กาฬหลังแอ่น ที่จังหวัดชลบุรีนั้น ผลการตรวจเลือดยืนยันว่าผู้ป่วยเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ไม่ใช่โรคไข้กาฬหลังแอ่นแต่อย่างใด โดยโรคไข้กาฬหลังแอ่น ไม่ใช้โรคใหม่ พบได้ทั่วโลกเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่าไนซีเรีย มินิงไจติดีส (Neisseria meningitides) สถานการณ์ในประเทศไทย ขณะนี้พบได้น้อยมาก ซึ่งเป็นผลมาจากระบบการควบคุมป้องกันที่ดี โดยพบผู้ป่วยประปรายปีละ 20-30 ราย ในช่วง 5 ปีหลังนี้ พบน้อยกว่า 20 ราย เสียชีวิตประมาณ 2 ราย ประชาชนจึงไม่ต้องวิตกกังวล โรคนี้มียาป้องกันและมียารักษาหายขาด
กรมควบคุมโรคได้เฝ้าระวังโรคไข้กาฬหลังแอ่นต่อเนื่อง จำนวนผู้ป่วยลดลงไม่มีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน โดยในปี 2558 สำนักระบาดวิทยารายงาน พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 4 ราย เสียชีวิต 1 ราย โรคนี้ติดต่อได้โดยการสัมผัสใกล้ชิด ทางน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่งต่างๆของผู้ป่วย อาการป่วยคือ เริ่มจาก มีไข้สูง ปวดศีรษะ อาเจียน ชัก คอแข็งเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างรุนแรง ส่วนใหญ่จะมีจุดเลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจุดแดงทั่วตัว ต่อมาเปลี่ยนเป็นจุดสีคล้ำ จนกลายเป็นสะเก็ดสีดำ จึงเรียกว่าไข้กาฬหลังแอ่น เชื้อมีระยะฟักตัว 2-10 วัน นานสุด 11วัน
“โรคไข้กาฬหลังแอ่นเป็นได้กับคนทุกกลุ่มอายุ มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมักเป็นกลุ่มที่สุขอนามัยไม่ดี ร่างกายอ่อนแอ มีภูมิต้านโรคน้อย โรคนี้ติดต่อกันยาก ยกเว้นคนใกล้ชิด รักษาหายได้มียาฆ่าเชื้อ ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่มีใช้ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ
กรมควบคุมโรคแนะนำว่า ในการป้องกันโรค ประชาชนต้องพักผ่อนออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและควรหมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ ผู้ที่มีอาการไอ ไม่ว่าจะป่วยเป็นโรคใดๆก็ตาม ต้องคาดหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันเชื้อแพร่กระจายไปสู่คนอื่นๆ โรคนี้มักมีการระบาดในบางพื้นที่ เช่นที่ตะวันออกกลางหรือแอฟริกา หากจำเป็นต้องเดินทางในเขตที่มีการระบาด ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคก่อนเดินทาง ทั้งนี้หากประชาชนที่สงสัยอาจสัมผัสกับผู้เสียชีวิต มีอาการป่วย มีไข้สูง ปวดศีรษะ อาเจียน มีรอยผื่นเลือดออกใต้ผิวหนัง ควรรีบไปพบแพทย์ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)